ยุคก่อนประวัติศาสตร์

1. ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (Pre-Historic) = ยังไม่มีตัวอักษรใช้

  • ยุคหินเก่า (30,000-10,000 ปี ก่อนคริสต์ศักราช)

–  มนุษย์อาศัยอยู่ตามถ้ำ ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์

–  ประดิษฐ์อาวุธและแกะ สลักรูปเคารพจากหิน

–  นิยมสร้างผลงานจิตรกรรมบนผนังถ้ำ เพื่อบันทึกประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน

–  จิตรกรรม  :  ใช้เป็นสื่อประกอบเรียนรู้การล่าสัตว์ พบร่องรอยขีดข่วนด้วยของมีคมบริเวณจุดตายบนภาพสัตว์ที่วาดอยู่บนผนังถ้ำ

–  ลักษณะเด่น

  • ใช้วิธีการพิมพ์โดยใช้สีทาบนมือแล้วกดประทับกับผนังถ้ำ
  • วางมือบนผนังแล้วระบายหรือพ่นสีรอบมือ
  • ภาพสัตว์แสดงอาการเคลื่อนไหวเสมอ
  • มีการวาดเป็นเส้นหนักเบา โดยใช้พู่กันที่ทำจากขนสัตว์หรือเปลือกไม้
  • สีที่ใช้ทำจากดินแดง ดินเหลือง ดินดำ หรือเขม่าไฟ  ร่วมกับส่วนผสมของไขสัตว์ ยางไม้

–  ประติมากรรม   :  ใช้ประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อเกี่ยวกับความอุดมสมบูรณ์ ความตาย สำนึกบาป

  • ยุคหินใหม่ (10,000-2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

–  มนุษย์ได้ออกจากถ้ำมาอาศัยอยู่บนพื้นที่ราบ

–  มีการเพาะปลูก  เลี้ยงสัตว์  มีระบบการแลกเปลี่ยน

–  ผลงานที่สำคัญและโดดเด่นของยุคนี้ได้แก่งานสถาปัตยกรรมสร้างจากหิน

–  จิตรกรรม  

  • วาดภาพแบบไม่เหมือนจริง แสดงความคิดรวบยอดด้วยอารมณ์และจินตนาการเป็นลวดลายหรือสัญลักษณ์ต่างๆ เช่น วงกลมแทนดวงอาทิตย์ สามเหลี่ยมแทนภูเขา เป็นต้น
  • แสดงถึงคติความเชื่อ และพิธีกรรม
  • เพื่อการประดับตกแต่งให้เกิดความสวยงาม

–  ลักษณะเด่น : ออกแบบลวดลายด้วยเส้นเรขาคณิต

–  หัตถกรรม  :  นำหินสีมาตกแต่งเป็นลูกปัด ทำเครื่องประดับ

–  สถาปัตยกรรม  :  ใช้หินขนาดใหญ่จัดวางในรูปแบบที่มีการวางแผนไว้ก่อนได้เป็นอย่างดี

–  อนุสาวรีย์หินล้อม (Stonehenge)

  • ยุคโละ (5,000-2,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

–  รู้จักวิธีการหลอมทองแดงกับตะกั่ว

–  รู้จักการหล่อทองแดง

–  สุดท้ายของยุคนี้มีการใช้โลหะที่เป็นเหล็ก

–  ใช้โลหะทำภาชนะ เครื่องใช้ไม้สอยและเครื่องประดับ

–  ภาชนะเครื่องปั้นดินเผาบ้านเชียงจังหวัดอุดรธานี  ประเทศไทย

ยุคโบราณ

2. ยุคโบราณ (Ancient Age) = มีตัวอักษรใช้แล้ว

  • สมัยเมโสโปเตเมีย

–  หมายถึง  ดินแดนระหว่างแม่น้ำไทกรีสและยูเฟรตีส

–  มีลักษณะเป็น รูปพระจันทร์เสี้ยว

–  เมโสโปเตเมียแบ่งออกเป็นสองส่วน

  • ส่วนล่างใกล้กับอ่าวเปอร์เซีย มีความอุดมสมบูรณ์ เรียกว่าบาบิโลเนีย (Babylonia)
  • ส่วนบนซึ่งค่อนข้างแห้งแล้งเรียกว่าแอสซีเรีย (Assyria)

–  มีชนชาติหลายเผ่าพันธุ์อาศัยรวมกัน  มีการรบพุ่งกันอยู่เสมอ

–  มีการคิดค้นประดิษฐ์ตัวอักษรลิ่ม

–  ภาพ กล่องเพลงเสียงพิณ   

  • เทคนิค : งานโมเสก (Mosaic) โดยใช่เปลือกหอยสีขาวมาเรียงกัน

–  กุเดีย เจ้าเมืองลากาช (Gudea,Governor of Lagash) กำลังบูชาเทพเจ้า

  • เน้นจุดเด่นกายวิภาค
  • เป็นแท่งเหลี่ยม  ตามลักษณะของก้อนหิน

–  ซิกูแรต

  • เป็นหอสูงคล้ายปิรามิดก่อเป็นชั้นๆสูงสุดมีถึง  7 ชั้น
  • เป็นวิหารรูปแบบหนึ่ง
  • ใช้สำหรับพิธีบวงสรวงของพระเพื่อบูชาพระเจ้า

–  สมัยบาบิโลน

  • เสาหินสำหรับปักกำหนดเขตแดน (Boundry stones
  • ศิลาจารึกประมวลกฎหมายของพระเจ้าฮัมมูราบิ  (Stele of Hammurabi)
  • การทำกระจก  แก้วสี  และอิฐเผาเคลือบสี  สำหรับใช้ประดับตกแต่งบนผนัง
  • สวนลอยแห่งบาบิโลน
    • เป็นหนึ่งในเจ็ดสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ
    • มีน้ำตกด้วย
    • สร้างโดยกษัตริย์นีบูชัดเนซซาร์ที่ 2 เพื่อเอาใจพระมเหสีและพระสนม
  • สมัยอียิป 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช

–  มีการรักษาศพไว้อย่างดีโดยทำมัมมี่

–  ผลงานศิลปกรรมมีลักษณะใหญ่โตคงทนถาวรสร้างขึ้นเพื่อสนองความเชื่อเกี่ยวกับชีวิตหลังความตาย

–  รูปปั้นพระราชินีเนเฟอร์ติตี

–  ปิรามิดหมู่ที่เมืองกิซา

  • สมัยกรีก (1,100 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

–  ชาวกรีกเชื่อว่า “ศิลปะคือการเลียนแบบธรรมชาติ”

–  ศิลปะกรีกแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่

  • แบบเรขาคณิต (Geometric Period) 1100-700 ปีก่อน คริสต์ศักราช
    •  เขียนด้วยน้ำยาเคลือบ  นิยมใช้สีดำ  และสีแดง
    • วาดเป็นลวดลายเรขาคณิตแบนๆ บนแจกัน
    • เรื่องราวเกี่ยวกับขบวนพิธีศพโดยมีศพผู้ตายอยู่บนเสรี่ยง
  • แบบอาร์เคอิก (Archaic Period) 700-400 ปี ก่อน คริสต์ศักราช
    • เริ่มนิยมทำงานประติมากรรมหินให้มีลักษณะนุ่มนวลเป็นธรรมชาติมากขึ้น
    • นิยมแกะสลักรูปเปลือยเพื่อแสดงสรีระอันงดงามของมนุษย์
    • ภาพมีรูปร่างและสัดส่วนเป็นธรรมชาติ
    • เรื่องราวมักเป็นเรื่องเกี่ยวกับเทพนิยาย
  • แบบคลาสสิก (Classic Period) 480-323 ปี ก่อน คริสต์ศักราช
    • ปรากฏอยู่ตามที่สาธารณะ  สถานที่ศักดิ์สิทธิ์และในวิหารต่างๆ
    • วิหารพาร์เธนอน

°       สร้างถวายเทพีอาธีน่า

°       ใช้เสาแบบ ดอริก โคนเสาใหญ่ไม่มีฐาน

°       หลังคาเป็นรูปหน้าจั่ว

  • ประติมากรรมลอยตัว
  • หลักกายวิภาคที่เรียบง่าย  สมดุล  ท่วงท่าและความพลิ้วไหว
  • แบบเฮลเลนนิสติก (Hellenistic) 323 ปี ก่อน คริสต์ศักราช
    • เทพีแห่งชัยชนะ แห่งซามอแทร็ก (Nike of Samothrace)
    • เลาคูนกับลูก (Laocoon and his Sons)
    • วีนัสแห่งเกาะมิโล (Venus de Milo)
  • สมันโรมัน (500 ปีก่อนคริสต์ศักราช)

–  ได้รับอิทธิพลจากศิลปะกรีกอย่างมาก*

–  มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับความกล้าหาญและวีรกรรมของวีรบุรุษ

–  นิยมวาดภาพคนเหมือนและบันทึกเหตุการณ์ทางประวัติสาสตร์  รวมทั้งภาพทิวทัดต่างๆ

–  ประติมากรรมอนุสวรีย์ออกุสต์ ซีซาร์

–  โคลอสเซียม

–  วิหารเพนธีออน

ยุคกลาง

3. ยุคกลาง (Middle Age) เชื่อในคริสต์ศาสนา

  • สมัยไบเซนไทน์ (คริสต์ศตวรรษที่ 1-14)

–  ไบเซนไทน์ คือ อาณาเขตแถบโรมันตะวันออก

–  มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล

–  มีพัฒการต่อเนื่องจากศิลปะโรมัน

–  ให้ความสำคัญกับเรื่องราวตามพระคัมภีร์ไบเบิ้ล  และความศรัทธาในคริสต์ศาสนา

–  นิยมวาดบนฝาผนังและแผงไม้

–  ใช้สีฝุ่น สีขี้ผึ้งร้อน และสีปูนเปียกอย่างแห้ง  รวมทั้งงานโมเสก

–  ใช้รูปเชิงสัญญาลักษณ์มากกว่าเลียนแบบธรรมชาติ

–  ศาลาประชาคมซานมาร์ โค

  • สมันโรมานเนสก์ (ค.ศ 1050-1150)

–  เกิดขึ้นภายใต้อิทธิพลของพระ  ระบบศักดินา  และสงครามครูเสด

–  ให้ความสำคัญกับสถาปัตยกรรมที่สนองความต้องการทั้งฝ่ายศาสนาและฝ่ายศักดินา

  •  ฝ่ายศาสนาจักร ต้องการสร้างโบสถ์ให้เป็นที่พักสำหรับนักรบ   ประดับด้วยผลงานศิลปะที่เกี่ยวกับศาสนา
  • ฝ่ายศักดินาขุนนางและเศรษฐี ต้องการคฤหาสน์ขนาดใหญ่ที่มั่นคง  ปลอดภัย  มีความคิดมาจาก  ฮาเร็ม

–  โบสถ์เซนต์ จอห์น

–  หอเอนปิซา  เป็นหอระฆังที่สร้างแยกออกมาโดดๆอยู่หลังโบสถ์เซนต์ จอห์น

–  โบสถ์เซนต์ ฟรองท์

–  โบสถ์แบมเบิร์ก (Bamberg Cathedral)

–  โบสถ์เมืองทราเออร์ (Trier)

  • สมัยโกทิค (ค.ศ. 1150-1500)

–  “กอทิก” เป็นคำที่นักวิจารณ์ชาวอิตาเลียนสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาใช้เรียกผลงานศิลปะที่ด้อยค่า

–  มีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส

–  ได้รับอิทธิพลจากศิลปะโรมันเนสก์

–  ทำเพดานให้สูงขึ้น  ปรับหลังคาให้มียอดแหลม

–  เหนือประตูนิยมทำเป็นวงโค้งแหลม  ตกแต่งด้วยประติมากรรมแกะสลักนูนสูง

–  ผนังเจาะช่องว่างประดับกระจกสี 

–  มีเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนาคริสต์

–  ให้ความสำคัญกับเพศหญิง  เคารพพระแม่มารี

–  วัดโนเตรอ ดาม แห่งปารีส(Notre Dame of Paris)

  • “หน้าต่างดอกกุหลาบ”  (Rose Window)

–  โบสถ์อาเมียงส์ (The Cathedral of Amiens)

–  โบสถ์เมืองโคโลญน์

ยุคใหม่

4. ยุคใหม่ (Modern Age)

  1. 1.     ศิลปะยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา  (Renaissance Art)

–  เริ่มต้นในประเทศอิตาลี

–  มีการขุดค้นพบซากเมืองโบราณของกรีกและโรมัน จึงมีการนำศิลปวิทยาการที่ได้จากการขุดค้นพบมาปรับปรุง  ดัดแปลงใหม่

–  นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้กับการสร้างผลงานศิลปะ

  • สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนต้น  (ค.ศ.1397-1507)

–     เป็นช่วงเชื่อมต่อกับสมัยกอทิก

–     เริ่มมีความคิดเกี่ยวกับมนุษยนิยม

–     เริ่มให้ความสนใจกับแสงสะท้อนกับเงาในกระจกและอากาศ

–     วิธีการวาดภาพโดยใช้หลักทัศนยวิทยาตามหลักวิทยาศาสตร์อีกด้วย

–     มีการวาดภาพสีน้ำมัน

–     ภาพ : โมนา ลิซา ศิลปิน : เลโอนาร์โด ดา วินซี

–     ภาพ : Virgin of the Rocks ศิลปิน : เลโอนาร์โด ดา วินซี

–     ภาพ : พิธีแต่งงานของ Arnolfini ศิลปิน : แจน แวน อิค

–     ภาพ : กำเนิดวีนัส ศิลปิน : บอตตีเชลลี

–     ภาพ : อาหารเมื้อสุดท้าย ศิลปิน : เลโอนาร์โด ดา วินซี

–     ประติมากรรมแกะสลักหินอ่อน ปีเอตา (Pieta

–     ประติมากรรมแกะสลักหินอ่อน เดวิด

  • สมัยบาโรก  (คริสต์ศตวรรษที่ 16)

–     ศิลปะที่วิจิตรงดงาม  แสดงรายละเอียดสลับซับซ้อน  ยิ่งใหญ่อลังการ  และหรูหรา

–     การตกแต่งลวดลายให้ดูวิจิตรอลังการซึ่งส่วนใหญ่คือ ลายใบไม้ ดอกไม้ ช่อดอกไม้ ผสมผสานกับเส้นโค้งที่อ่อนช้อย  ประดับประดาจนดูรกรุงรังเกินความจำเป็น

–     สีที่ใช้ประดับตกแต่งมักจะเป็นสีทอง

–     ประติมากรรมแกะสลักหินอ่อน ความปิติของเซนต์เทเรซา

–     ภาพ : การลักพาตัวยุโรปา  ศิลปิน : บูเช ฟรองซัว

  • สมัยโรโกโก (คริสต์ศตวรรษที่ 17)

–     ทำตามแบบอย่างศิลปะบาโรก  แต่ปรับรายละเอียดของรูปทรง  และเส้นสายลวดลาย  ให้อ่อนช้อยมากยิ่งขึ้น

–     คำเปรียบเปรยว่า “ศิลปะบาโรกเหมือนบุรุษหนุ่มผู้มีความสง่า  ส่วนศิลปะโรโกโกเปรียบเสมือนสตรีที่มีความงดงามยิ่ง  ”

–     ใช้เครื่องเรือนหรูหราประดับตกแต่งด้วยวัตถุที่ประณีตงดงาม

–     กำเนิดขึ้นในฝรั่งเศสช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 17  ช่วงสมัยของพระเจ้าหลุยที่ 14

–     งานจิตรกรรมของ วาโต และ บูเช

  1.  ศิลปะสมัยใหม่คริสต์ศตวรรษที่ 19

–     ให้ความสำคัญกับการแสดงออกทางศิลปะที่สะท้อนเสรีภาพของบุคคลมากกว่าสะท้อนความเชื่อความศรัทธาในศาสนา  และระบบศักดินา

  • ลัทธิคลาสสิกใหม่

–     การเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศฝรั่งเศส

–     การขุดค้นพบซากเมืองปอมเปอิโบราณสมัยโรมัน

–     ภาพ : The Oath of Horatii ศิลปิน : ดาวิด

–     ภาพ : การตายของโสคราติส ศิลปิน : ดาวิด

–     ภาพ : การตายของมาราต์ (The Death of Marat) ศิลปิน : ดาวิด

–     ภาพ :Achilles Receives the  Ambassadors of Agamemnon ศิลปิน แองกร์

–     ภาพ : Turkish Bath ศิลปิน : แองกร์

–     ภาพ สถานพยาบาลที่จัสฟา ศิลปิน กรอส

  • จินตนิยม

–     กำเนิดขึ้นทางยุโรปตอนเหนือและสหรัฐอเมริกาในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19

–     ศิลปะที่มีความคิดเห็นขัดแย้งกับลัทธิคลาสสิกใหม่ซึ่งมีกฎระเบียบมาก

–     ปรับปรุงวิธีการวาดภาพแบบบาโรกและกำหนดเรื่องราวด้วยตนเอง

–     ภาพ แพเมดูซา ศิลปิน เจริโคท์

–     ภาพ เรือบรรทุกทาส ศิลปิน เทอร์เนอร์

–     ภาพ เกวียนบรรทุกหญ้า ศิลปิน คอนสเตเบิล

  • สัจนิยม

–     ยึดถือหลักการสร้างผลงานให้ดูเหมือนจริงและเป็นจริงตามที่ตาเห็น

–     มุ่งเน้นเนื้อหาความเป็นอยู่ของมนุษย์ เป็นปฏิปักษ์ต่อหลักสุนทรียศาสตร์ของลัทธิคลาสสิกใหม่และลัทธิจินตนิยม

–     เชื่อว่า ในความจริงมีความงามอยู่แล้ว  ศิลปินจะต้องบันทึกความงามตามที่เห็นอย่างละเอียด

–     มีลักษณะการทิ้งรอยแปรงอย่างอิสระ  คล่องแคล่วว่องไว  ไม่เกลี่ยให้เรียบ

–      ปรับสภาพแสงสีให้ใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุด

–     ภาพ กรรมกรทุบหิน ศิลปิน กูร์เบ (Gustave Courbet)

–     ภาพ คนเก็บข้าวตก ศิลปิน มีเล (Jean-Francois Milet)

  • ลัทธิประทับใจ

–     แบ่งออกเป็น 3 ระยะ

  1. ให้ความสนใจในแนวคิดของลัทธิสัจนิยม
  2. เห็นว่าการรับรู้ของศิลปินตามความรู้สึกประทับใจมีความสำคัญกว่า
  3. เป็นระยะที่ศิลปินมุ่งแสดงความรู้สึกและอารมณ์ภายในด้วยสีมากกว่าความประทับใจที่เห็น

–     โมเนได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาของลัทธิประทับใจ

–     ปกติโมเนจะไม่วาดรูปคน  ชอบวาดบรรยากาศธรรมชาติมากกว่า  และชอบใช้แสงตามเวลา  ตามฤดูกาล

–     เรอนัวร์ โปรดปรานการวาดภาพเรื่องราวเกี่ยวกับงานเลี้ยงสังสรรค์

–     วาดภาพให้มีแสงตกกระทบบนรูปคนที่กำลังเคลื่อนไหวอยู่

–     ประติมากรรมแกะสลักหินอ่อน จูบ (The Kiss) ของ โรแดง (Auguste Rodin)

  • ลัทธิประทับใจใหม่

–     มีความเชื่อเกี่ยวกับทฤษฎีของแสง  และทฤษฎีรูปกับพื้นตามทัศนะการมองเห็นของศิลปินยุคใหม่

–     เชื่อว่าแสงเป็นอนุภาค  จึงระบายสีของแสงและเงาเป็นจุดเล็กๆทั่วทั้งภาพ

–     เน้นวิธีการวาดภาพตามแนววิทยาศาสตร์

–     ลัทธิผสานจุดสี (Pointillism)

  • ลัทธิประทับใจยุคหลัง

–     ให้ความสำคัญกับการแสดงออกด้วยความรู้สึกของสีมากกว่าเรื่องราว

–     วาดรูปทรงที่ดูง่าย สีเป็นรูปทรงของตัวมันเอง

–     เน้นรูปทรง  และเรื่องราวที่ประทับใจมากกว่าวิธีการ

–     ศิลปิน แวนโก๊ะ

  1. ศิลปะสมัยใหม่คริสต์ศตวรรษที่ 20 

–     ก่อตัวขึ้นที่กรุงปารีส

–     จิตรกรรมที่วาดด้วยสีสดใส  และใช้ฝีแปรงอิสระ

–     ให้ความสำคัญกับอารมณ์ภายในของศิลปินมากกว่าวัตถุภายนอก  และใช้สีเป็นสื่อแสดงออกโดยไม่คำนึงความถูกต้องหรือเหมือนจริง

  • ลัทธิโฟวิสต์

–     ลัทธิแปลว่าสัตว์ป่า

–     ผลงานให้ความรู้สึกรุนแรง  ดุดันและตื่นเต้นต่อผู้พบเห็น

–     ใช้สีสดๆและเส้นเด็ดเดี่ยว

–     จัดภาพและสีโดยไม่คำนึงถึงความเป็นจริงตามที่ตาเห็น

  • ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์

–     ศิลปินมุ่งที่จะแสดงออกถึงความรู้สึกภายในของตนเองมากกว่าการลอกเลียนแบบสิ่งที่อยู่ภายนอก

–     ใช้สีไม่ตรงกับความเป็นจริง  ทิ้งรอยพู่กันอย่างอิสระ

  • บาศกนิยม

–     เซซานได้เคยกล่าวไว้ว่า  “ ถ้าเข้าใจรูปทรงของโลกภายนอก และโครงสร้างตามความจริงแล้ว จงมองรูปทรงเหล่านั้นเป็นเหลี่ยม เป็นลูกบาศก์ง่ายๆ ”

–     จึงถ่ายทอดรูปทรงนั้นโดยทำเป็นรูปเหลี่ยม

–     ตัดทอน  ย่นย่อส่วน หรือเพิ่มเติมตกแต่งรูปทรง

–     รูปทรงบังกันหรือซ้อนกันคล้ายภาพเอ็กสเรย์

–     ภาพ : Clarinet and Bottle of Rum on a Mantelpiece ศิลปิน : บร้าก (Georges Braque)

–     ภาพ : หุ่นนิ่งหน้าช่องหน้าต่าง ศิลปิน : กริส (Juan Gris)

  • อนาคตนิยม

–     แสดงออกถึงชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบัน

–     เน้นถึงการแสดงอารมณ์ ความเคลื่อนไหว ความก้าวหน้าและภัยอันตราย

–     นิยมเนื้อเรื่องเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว

–     วัตถุที่เลือกใช้เป็นเนื้อหาสำหรับการวาดภาพเป็นวัตถุที่เป็นสัญลักษณ์ของการเคลื่อนไหว  เช่น วงล้อจักรยาน

–     ภาพ : หญิงเปลือยก้าวลงบันไดศิลปิน : ดูแชมป์ (Marcel Duchamp)

–     ภาพ  เชือกจูงสุนัขกำลังแกว่ง ศิลปิน จิอาโคโม บอลล่า

  • ศิลปะนามธรรม

–     ให้ความสำคัญกับส่วนประกอบของการมองเห็นและหลักการจัดส่วนประกอบดังกล่าวมากกว่าเนื้อเรื่อง

–     ภาพ : กำลังแกว่ง (Swinging) ศิลปิน : คันดินสกี

–     การหล่อทองแดง การเปลี่ยนรูป (หอย -ห่าน – สมดุล – ตัวท่าน) ศิลปิน :อาร์ป (Arp,Jean)

  • ลัทธิคติดาดา

–     ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1  รวมตัวกันต่อต้านสงคราม ก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางศิลปะขึ้น

–     แสดงให้เห็นถึงความน่าเกลียด  ตลกขบขัน  หยาบโลน

–     ภาพ : Amorous Parade) ศิลปิน : ฟรานซิส  ปิคาเบีย

–     โถปัสสาวะ   ค.ศ. 1917 มาร์เซล ดูแชมป์

  • ลัทธิเหนือจริง

–     เจริญงอกงามมาจากลัทธิคติดาดา

–     ส่งผลต่อลัทธิศิลปะต่างๆในระยะหลัง  หรือที่เรียกกันว่าศิลปะร่วมสมัย (Contemporary Art) ในปัจจุบัน

–     ภาพ : ความไม่จิรังของกวี ศิลปิน :  ชิริโค (De Chirico Giorgio

–     ภาพ : ช้างจากเมืองเซเลเบส ศิลปิน :  แม็กเอิรนส์ (Max Ernst

  • ลัทธิสำแดงพลังอารมณ์แนวนามธรรม  

–     ให้ความสำคัญการแสดงออกทางความรู้สึกภายในของศิลปิน

–     แสดงออกด้วยวิธีการและเทคนิคใหม่ๆบนพื้นผิววัสดุอย่างมีพลัง  มีความรุนแรง

–     เชื่อว่า  “ สุนทรียภาพควรเป็นความรู้สึก ที่แสดงออกตามสภาพแวดล้อมที่แท้จริงของสังคม  สุนทรียภาพมิใช่เป็นความรู้สึกที่แสดงออกตามแนวทางหรือ กฎเกณฑ์แห่งความงามของอดีต”

–     ภาพ : น้ำตก ศิลปิน  กอร์กี้ (Arshile Gorky)

–     ภาพ : ปันโจวิลลา ตายหรืออยู่ ศิลปิน :  มอเธอร์เวล

–     ภาพ : Full Fathom Five ศิลปิน : พอลลอค

  • ศิลปะประชานิยม

–     ลัทธิเหมือนจริงแนวใหม่ (New Realism)

–     สะท้อนภาพที่แท้จริงของสังคมปัจจุบันตามความรู้ความเข้าใจของสามัญชน

–     แสดงถึงความชุลมุนวุ่นวายของสังคม

–     เชื่อว่าศิลปะ คือ สิ่งที่กระตุ้นความรู้สึกของผู้ชมทันทีทันใดเมื่อได้สัมผัสกับสิ่งที่คุ้นเคย

–     ภาพ กระป๋องซุป ศิลปิน :  วาร์โฮล (Andy Warhol)

–     บุกเบิกนำเรื่องราวชีวิตประจำวันของสังคมอุตสาหกรรมมาสร้างเป็นผลงานศิลปะ

–     ภาพ : ผู้หญิงกับเครื่องสำอางศิลปิน : ไธบอด (Thiebaud Wayne)

  • ศิลปะลวงตา

–     เชื่อว่า  “ การมองเห็นและสีเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด ”

–     อาจเรียกว่า Retina-Tourtourers,Visual Sadicts หรือ Abstract lllusionists

–     ภาพ : Pal-Ket ศิลปิน : วิกเตอร์วาสซาเรลี

–     ภาพ : Cataract 3 ศิลปิน : ไรเลย์ (Bridger Riley)

  1.  ศิลปะลัทธิหลังสมัยใหม่

–     ให้ความสำคัญกับแผนการและกระบวนการทำงานมากกว่าตัวผลงาน  เนื้อหาของผลงานไม่มีขีดจำกัด

  • ศิลปะคติฉับพลัน

–     หรือ Happening

–     มีรากฐานทางสุนทรียภาพมาจาก คติดาดาและศิลปะประชานิยม

–     สิ่งแวดล้อม  แอลลันแคปโรว์ เป็นผู้นำคำว่า Happening มาใช้จนเป็นที่รู้จักกันทั่วไป

–     ภาพ : การแสดงแสงและไฟ ศิลปิน : ซิงเกลอร์ (Paris Sigler) ใช้แสงและสีในช่วงเวลาเพียง 8 วินาที และบันทึกภาพเก็บไว้ด้วยกล้องดิจิตอล

  • มโนทัศน์ศิลป์ 

–     ศิลปะที่ใช้แนวคิด (Concepts) หรือความคิด (Idea

–     ศิลปินจะต้องวางแผนและตัดสินใจว่าจะทำอะไรไว้ก่อน  งานที่สำเร็จคือผลพลอยได้

–     มาร์เซล ดูแชมป์ (Marcel Duchamp) ศิลปินชาวฝรั่งเศสเป็นผู้บุกเบิก

  • ภูมิศิลป์

–     เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Earth art

–     สร้างสรรค์เป็นรูปทรงโดยใช้วัสดุต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ

–     อยู่ได้ไม่นาน ก็หายไปกับธรรมชาติ

–     การห่อหน้าผา (เอาผ้ามาคลุมหน้าผา ลิเติ้ลเบย์ ยาวถึง 1 ไมล์ )ศิลปิน : คริสโต และ จีนน์ โกลด

–     Spiral Jetty (นำหิน  ดิน และสาหร่ายทับถมจัดรวมกันเป็นรูปก้นหอยยาวทอดออกไปกลางทะเลสาบ  Great Salt Lake ) ศิลปิน : โรเบิร์ต สมิทสัน

  • ศิลปะดิจิตอล  

–     ศิลปะที่สร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ในรูปแบบดิจิตอล

–     อาจใช้วิธีสแกนภาพ หรือวาดเป็นภาพขึ้นมาเองโดยใช้ซอฟต์แวร์

  • ศิลปะจัดวาง

–     ศิลปะที่ใช้วัสดุทางประติมากรรมร่วมกับวัสดุอื่นๆ เพื่อเติมแต่งพื้นที่ว่าง

–     เช่น : โครงการ The swap box   project จัดทำกล่องบริจาคและกล่องรับบริจาคด้วยฝีมือของศิลปินเอง  แขวนไว้ให้ผู้คนที่สัญจรไปมาหยิบของในกล่องบริจาคและบริจาคของกลับคืนมายังกล่องรับบริจาค

ประวัติศาสตร์ศิลป์

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ศิลป์

ประวัติศาสตร์ศิลป์แยกได้เป็น 2 คำ คือ ประวัติศาสตร์ (History) และศิลป์ (Art)

ประวัติศาสตร์ (History) หมายถึง วิชาว่าด้วยความเป็นมาของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีตจนถึงปัจจุบัน

ศิลป์ (Art) มีความหมายกว้างขวางตามแนว และทัศนะของนักปรัชญาของแต่ละยุคแต่ละสมัย แต่จะอย่างไรก็ตามเราพอจะสรุปความหมายของศิลปะในแนวกว้าง ๆ

ศิลปะ คือ สิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เพื่อแสดงออกซึ่งอารมณ์ ความรู้สึก ปัญญา ความคิดและความงาม

ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาประวัติศาสตร์ศิลป์

   ประวัติศาสตร์ศิลป์บอกให้เราทราบถึงการสร้างสรรค์ และวิวัฒนาการศิลปะของมนุษยชาติ ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ถึงยุคปัจจุบัน เราได้ศึกษาแบบอย่างงานศิลปะ ความเคลื่อนไหว ความเพียรพยายามในการสร้างสรรค์ ความเปลี่ยนแปลงของศิลปกรรมของแต่ละยุค เป็นแบบอย่างเพื่อการพัฒนา นำไปสู่การยกระดับคุณภาพของงานศิลปะในยุคปัจจุบัน นอกจากนั้น การศึกษาประวัติศาสตร์ศิลป์ ช่วยให้เกิดความซาบซึ้งในคุณค่าของงานศิลปะ มีความภาคภูมิใจในมรดกทางวัฒนธรรมของมวลมนุษย์ทั้งโลก